วันจันทร์ที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

ผู้ดูแลและตารางการฝึกงานสถาบันพัฒนากศน.และการศึกษาตามอัธยาศัยภาคกลาง 2552

....สถาบัน กศน. ภาคกลางรับนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพโปรแกรมวิชาเทคโนโลยีทางการศึกษา จากมหาวิทยาลัยราชภัฎหมู่บ้านจอมบึง มาฝึกงานในระหว่างวันที่ 2 พฤศจิกายน 2552 - 28 กุมภาพันธ์ 2553 จำนวน 2 คน คือนายยุรนันท์ อิ่มสมบัติ และนายบุญเสริม จิตต์คงไทย เพื่อให้นักศึกษาดังกล่าวได้รับรู้ทักษะ ประสบการณ์ ตามวัตถุประสงค์ของการฝึกงาน ดังนี้
1. ที่ปรึกษา มีหน้าที่ให้คำปรึกษา แนะนำ สนับสนุน ส่งเสริม อำนวยความสะดวก ประกอบด้วย
1.1 ว่าที่ ร.ต.อัมพร มากเพชร ผู้อำนวยการสถาบัน กศน. ภาคกลาง
1.2 หัวหน้าส่วนเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา
1.3 หัวหน้าส่วนอำนวยการ
1.4 หัวหน้าส่วนจัดการศึกษา
1.5 หัวหน้าส่วนวิจัยและการพัฒนา
2. ผู้รับผิดชอบดูแล ควบคุมการปฏิบัติงาน จัดทำแผนฝึกประสบการณ์ และเป็นพี่เลี้ยงในด้านต่างๆ ได้แก่
/2.1 นายฐิติ บุญยศ
2.2 นางสุนันทา โนรีสุวรรณ
3. คณะวิทยากร มีหน้าที่ให้ความรู้เนื้อหาวิชาการ ทักษะ เติมเต็มประสบการณ์ในด้านต่างๆ ได้แก่
3.1 ด้านเทคโนโลยีและสารสนเทศ ประกอบด้วย
3.1.1 นายฐิติ บุญยศ
3.1.2 นางทองจุล ขันขาว
3.1.3 นายไพโรจน์ ขุนทอง
3.1.4 นางนฤมล อันตะริกานน์
3.1.5 นายบุญฤทธิ์ วิริยานุภาพพงศ์
3.1.6 นางสาวเตือนใจ ทองเจริญศิริกุล
3.2 ด้านการผลิตรายการโทรทัศน์ ประกอบด้วย
3.2.1 นางสุนันทา โนรีสุวรรณ
3.2.2 นายประชาลักษณ์ ศรีคุณาภรณ์
3.2.3 นายสงกรานต์ เหม่งเวหา
3.3 ด้านการผลิตรายการวิทยุ ประกอบด้วย
3.3.1 หม่อมหลวงเฉลิมขวัญ ศรีธวัช
3.3.2 นายสมบัติ ศรีงาม
4. ผู้ประเมินผลการฝึกประสบการณ์ ได้แก่ นายฐิติ บุญยศ
ให้ผู้ที่ได้รับการแต่งตั้งปฏิบัติหน้าที่เพื่อให้เกิดประโยชน์แก่นักศึกษาอย่างเติมที่ทั้งนี้ตั้งแต่บัดนี้จนเสร็จสิ้นภาระกิจ
แผนการฝึกประสบการณ์วิชาชีพสำหรับนักศึกษาฝึกงาน มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง
วันที่ 2-3 พ.ย. 2552
เรื่อง วิธีการใช้เครื่องสำเนาCD/VCD
ผึกปฏิบัติจริง
วิทยากร นางสุนันทา โนรีสุวรรณ
นายสงกรานต์ เหม่งเวหา
วันที่ 4-13 พ.ย. 2552
เรื่อง การใช้โปรแกรมห้องสมุด
การจัดทำรายการหนังสือขึ้นเวบ
การถ่ายรูปปกหนังสือ Update ข้อมูลเข้าโปรแกรม
วิทยากร นายฐิติ บุญยศ
วันที่ 16-20 พ.ย. 2552
เรื่อง เรียนรู้เรื่องการทำรายการวิทยุ
รูปแบบรายการ
เทคนิคการนำเสนอ
การเขียนบทวิทยุ
ปฏิบัติการเขียนบทวิทยุ
วิทยากร มล.เฉลิมขวัญ ศรืธวัช
วันที่ 23-27 พ.ย. 2552
เรื่อง การใช้เครื่องบันทึกเสียง
สื่ออุปกรณ์
วิธีใช้เครื่องมือ
เทคนิคการบันทึกเสียง
ฝึกปฏิบัติจริง
วิทยากร นายสมบัติ ศรีงาม
วันที่ 30 พ.ย. –4 ธ.ค. 2552
เรื่อง เดินระบบ Lan
วิทยากร นายฐิติ บุญยศ
นายไพโรจน์ ขุนทอง
วันที่ 8-18 ธ.ค. 2552
เรื่อง การใช้โปรแกรมงานวัดผล
วิทยากร นายบุญฤทธิ์ วิริยานุภาพพงศ์
วันที่ 21-30 ธ.ค. 2552
เรื่อง ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์
การจัดการระบบฐานข้อมูล
การทำข้อมูลคลังสื่อบนเว็บ
วิทยากร นายฐิติ บุญยศ
นายไพโรจน์ ขุนทอง
น.ส.เตือนใจ ทองเจริญศิริกุล
วันที่ 4-15 ม.ค. 2552
เรื่อง การสร้างสื่อนำเสนอ
การสร้างภาพเคลื่อนไหว
Photoshop/Proshow gold/Power point
วิทยากร นายทองจุล ขันขาว
นายนฤมล อันตะริกานน์
นายไพโรจน์ ขุนทอง
วันที่ 18-22 ม.ค. 2552
เรื่อง เครื่องมืออุปกรณ์ผลิตรายการโทรทัศน์
ความรู้เกี่ยวกับอุปกรณ์
วิธีการใช้และดูแลรักษา
เทคนิคการถ่ายทำ
วิทยากร นางสุนันทา โนรีสุวรรณ
นายประชาลักษณ์ ศรีคุณาภรณ์
นายสงกรานต์ เหม่งเวหา
วันที่ 25-29 ม.ค. 2552
เรื่อง ฝึกปฏิบัติการใช้เครื่องมือถ่ายทำรายการโทรทัศน์
วิทยากร นางสุนันทา โนรีสุวรรณ
นายประชาลักษณ์ ศรีคุณาภรณ์
นายสงกรานต์ เหม่งเวหา
วันที่ 1-5 ก.พ. 2552
เรื่อง การผลิตรายการโทรทัศน์
การเขียนบทโทรทัศน์
การตัดต่อรายการโทรทัศน์
วิทยากร นางสุนันทา โนรีสุวรรณ
นายสงกรานต์ เหม่งเวหา
วันที่ 8-19 ก.พ. 2552
เรื่อง การสร้าง Project นำเสนองาน
วิทยากร นายฐิติ บุญยศ
นางสุนันทา โนรีสุวรรณ
นายไพโรจน์ ขุนทอง
นายประชาลักษณ์ ศรีคุณาภรณ์
นายสงกรานต์ เหม่งเวหา
วันที่ 22-26 ก.พ. 2552
เรื่อง การประเมินผลงาน
ประเมินผลการฝึกประสบการณ์วิชาชีพ
วิทยากร นายฐิติ บุญยศ
*หมายเหตุ แผนการฝึกอาจเปลี่ยนแปลงได้ตามความเหมาะสม

วันศุกร์ที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

ข้อปฏิบัติของนักศึกษาระหว่างฝึกงาน

1.แต่งเครื่องแบบนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึงให้เรียบร้อยทุกครั้ง
2.ลงเวลามาทำงาน เวลากลับและลงลายมือชื่อในใบลงเวลาฝึกงานทุกวัน
3.ในกรณีที่จำเป็นไปปฏิบัติงานไม่ได้ ให้ส่งใบลาต่อผู้บังคับบัญชาและเก็บใบลาที่ผู้บังคับบัญชาอนุญาตแล้วนำมาแสดงต่ออาจารย์นิเทศอีกครั้งหนึ่ง
4.ต้องเชื่อฟังผู้บังคับบัญชาและปฏิบัติตามกฏระเบียบของหน่วยฝึกงานนั้นโดยเคร่งครัด
5.ห้ามมิให้เปิดเผยความลับของสถานที่ฝึกงาน
6.ให้บนทึกข้อมูลรายละเอียดเกี่ยวกับการปฏิบัติงานในแต่ละวันในเอกสาร และ มอบให้ผู้ควบคุมการฝึกงานตรวจสอบ ให้ข้อเสนอแนะและลงลายมือชื่อกำกับทุกสัปดาห์
7.เสนอเอกสารการฝึกงานให้อาจารย์นิเทศก์ตรวจทุกครั้ง ที่อาจารย์นิเทศก์ไปทำการนิเทศก์

วันศุกร์ที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

ประวัติสถาบันพัฒนากศน.และการศึกษาตามอัธยาศัยภาคกลาง

ความเป็นมา
...ศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนภาคกลาง จัดตั้งขึ้นตามระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการศึกษานอกโรงเรียนประจำภาค พ.ศ. 2519 โดยประกาศกระทรวงศึกษาธิการ ได้ออก ประกาศลงวันที่ 5 ม.ค. 2520 จัดตั้งศูนย์การศึกษานอกโรงเรียน ประจำภาคกลางขึ้น และ กำหนดให้ตั้งอยู่ที่จังหวัดราชบุรี มีฐานะเป็นสถานศึกษา สังกัดกรมสามัญศึกษา ในขณะนั้นจึงถือว่าวันที่ 5 ม.ค. 2520 เป็นวันกำเนิดของ ศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนประจำภาคกลาง
...ต่อมาได้มีการจัดตั้งกรมการศึกษานอกโรงเรียนขึ้น เมื่อวันที่ 24 มี.ค. 2522 และโอนบรรดา กิจการทรัพย์สิน หนี้สิน ข้าราชการ ลูกจ้างและเงินงบประมาณของกรมสามัญศึกษา ที่เกี่ยวข้องกับกองการศึกษา ผู้ใหญ่ และสำนักโครงการพัฒนาการศึกษานอกโรงเรียน ดังนั้น ศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนประจำภาคกลาง เปลี่ยนสังกัดจากกรมสามัญศึกษา มาสังกัดกรม
การศึกษานอกโรงเรียน กระทรวงศึกษาธิการ มีการเปลี่ยนแปลงชื่อ และเขตพื้นที่ปฏิบัติงานใหม่ ตามประกาศกระทรวงศึกษาธิการโดยมีชื่อว่าศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนภาคกลาง
.
สถานที่ตั้ง
...ระยะแรก เมื่อประกาศตั้งศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนภาคกลางได้ปฏิบัติงานอยู่ที่ กองการศึกษาผู้ใหญ่ กรมสามัญศึกษา จนถึงวันที่ 16 ต.ค. 2520 ระยะที่ 2 วันที่ 17 ต.ค. 2520 ได้ตั้งสำนักงาน ชั่วคราวที่โรงเรียนประถมบางแค เขตภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร และเริ่มลงมือก่อสร้างสำนักงานถาวรที่ค่ายลูกเสือ อำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี โดยได้ทำพิธี เปิดศูนย์ฯ เป็นการถาวรเมื่อวันที่ 17 ก.พ. 2522 และได้ย้ายมาอยู่ที่ สำนักงานถาวรเมื่อวันที่ 15 ต.ค. 2522 จนถึงปัจจุบัน
...ศูนย์ฯ ภาคกลางอยู่ห่างจากกรุงเทพมหานครเป็นระยะทาง ประมาณ 85 กิโลเมตร และห่างจากจังหวัดราชบุรี 16 กิโลเมตร มีที่ดินที่เป็นที่ตั้ง ศูนย์ฯภาค มี 3 แปลง เนื้อที่ รวม 62 ไร่ 50 ตารางวา ซึ่งเช่าที่ดินจากกรมศาสนา แปลงที่ 1 มีเนื้อที่ 46 ไร่ 1 งาน เป็นที่ดินของวัดสาลี (วัดร้าง)ใช้เป็นที่ตั้งอาคาร สำนักงาน, ห้องสมุด,โรงพิมพ์, บ้านพักเจ้าหน้าที่ และหอพักสำหรับผู้เข้ารับการอบรม แปลงที่ 2 มีเนื่อที่ 6 ไร่ 1 งาน 50 ตารางวา เป็นที่ดินของวัดกระออมทอง( วัดร้าง) ใช้เป็นที่ ปลูกสร้างบ้านพักของเจ้าหน้าที่ฯ แปลงที่ 3 มีเนื้อที่ 9 ไร่ 2 งาน เป็นที่ดินของวัดมะขามเตี้ย (วัดร้าง) ใช้เป็นที่ ทดลอง, สาธิตการเกษตร และบ้านพักเจ้าหน้าที่ฯ